โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลเป็นศูนย์การศึกษาที่มีคุณภาพ สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้มาโดยตลอด รวมถึงนักเรียนที่เป็นดาวน์ซินโดรม สมองพิการ ออทิสติก และผลกระทบทางสมองที่พบได้ทั่วไป ซึ่งนักเรียนที่มีช่วงอายุ 5 ถึง 20 ปีเป็นช่วงอายุที่มีระดับความสามารถและการเรียนรู้ที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งนักเรียนทั้งสิ้น 428 คนโดยได้รับการดูแลทางด้านอาหาร เสื้อผ้าการแต่งกาย และได้รับความรักจากครูทั้ง 79 ท่านเป็นอย่างดียิ่ง
โรงเรียนเคยมีหลักสูตรที่อ่อนแอ และครูที่ไม่มั่นใจว่าควรสอนอะไรกับนักเรียนดี เมื่อนักเรียนไม่เข้าเนื้อหาบทเรียนครูก็จะตำหนิความทุพพลภาพของนักเรียน เป็นผลให้นักเรียนไม่ค่อยได้ทำอะไรนอกจากนอนในแต่ละวัน ในขณะที่ครูนั้นหย่อนใจและนั่งคุยกัน ส่วนเด็กที่ไม่สามารถพูดได้ ก็จะไม่มีเพื่อน อยู่อย่างโดดเดี่ยว และเหงา
ในปี 2018 ดร.Humphreys ย้ายจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงมาที่หัวหิน ซึ่งท่านได้ใช้เวลาสิบห้าปีในฐานะผู้วิจัยระดับนานาชาติเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการทำงานกับโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้อย่างรุนแรง ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นหัวหน้าแผนกการศึกษาพิเศษ ที่ Northumbria University ในอังกฤษ และในไอซ์แลนด์ มอลตา และอิสราเอลอีกด้วย
เมื่อท่านสร้างบ้านที่หัวหิน ท่าได้ติดต่อกับโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลทันที่โดยผ่านเพื่อนร่วมงานของท่าน คือ นภา แก้วเต็ม ซึ่งเป็นประธานสโมสรโรตารีหลวงหัวหินไทย นี่เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำหลักสูตรห้าปีซึ่งตอนนี้เราอยู่ในช่วงปีที่สาม
มีปัญหามากมายหลายอย่างที่เกิดขึ้นหนึ่งในนั้นคือ แนวความคิดของครูที่ว่านักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้เพราะความทุพพลภาพ แต่ที่จริงแล้วครูไม่ได้ตระหนักเลยว่าครูต่างหากที่ไร้ความสามารถในการเข้าใจนักเรียน เพราะนักเรียนสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนรู้โดยเหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเองและนักเรียนทุกคนมีศักยภาพทางปัญญาพอเหมาะกับระดับความสามารถของตนเอง ดังนั้นพวกเราเริ่มต้นจากการผู้ถึงความสามารถไม่ใช่ เราจึงเริ่มด้วยการพูดถึงความสามารถไม่ใช่ความทุพพลภาพ พูดถึงเด็กๆ ไม่ใช่ผู้พิการ
เริ่มจากการประเมินนักเรียนตามแบบประเมินหลักสูตรแกนกลางฉบับใหม่ โดยการบูรณาการเนื้อหาระหว่างการประเมินประสิทธิภาพจากกระทรวงการศึกษาแห่งประเทศอังกฤษ และมาตราวัดและการประเมินผลจากกระทรวงศึกษาธิการ ครูได้สร้างระดับความสำเร็จซึ่งทำให้นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินตามมาตรฐานความสำเร็จในการเรียนรู้ทุกสาระของหลักสูตรแกนกลาง ครูเริ่มเล็งเห็นว่านักเรียนทุกคนมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างกัน ในระดับความสำเร็จนี้ทำให้นักเรียนถูกสอนอย่างเหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง ซึ่งหลักสูตรประสบความสำเร็จอย่างมากจนได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการของไทย
นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของคุณครูทุกท่านภายในโรงเรียน โดยการนำของผู้อำนวยการโรงเรียน นายวีระ กิ่งแก้ว มีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้เวลาครูได้ศึกษาและนำเอกสารแบบประเมินตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 ไปใช้ ในขณะเดียวกันก็ได้ตระหนักถึงการไม่มีประสิทธิภาพของอินเตอร์เน็ตภายในโรงเรียน จึงจำเป็นได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะให้ครูใช้อินเทอร์เน็ตพัฒนาทักษะการสอนและการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเริ่มเป็นที่รู้จักและตำราเรียนถูกมองว่าล้าสมัยในห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21
ความก้าวหน้าครั้งสำคัญต่อไปคือการเปลี่ยนจากการใช้ตำราหนังสือไปเป็นแผนภาพการทำงาน พร้อมบทเรียนตัวอย่างการเรียนรู้ในชีวิตจริง แผนภาพการทำงานหมายถึงครูต้องเข้าใจแนวคิดวิชาในหลักสูตรแกนกลางที่กำลังสอนและไม่พึ่งพาคำตอบในตำราเรียน ครูเขียนบทเรียนอย่างสร้างสรรค์โดยอาศัยข้อมูลที่ทันสมัยจากอินเทอร์เน็ต ครูต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าวิชาที่สอน อยู่ในระดับความเหมาะสมกับความสามารถที่นักเรียนจะเรียนได้สำเร็จ เป็นเรื่องยากสำหรับครูที่จะตระหนักว่าเด็กชายอายุ 15 ปี มีความคิดเหมือนเด็ก 5 ขวบหรือเด็กหญิงอายุ 12 ขวบมีความคิดเหมือนเด็กทารกอายุ 13 เดือน
ความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้คือครูไทยถูกสอนว่าตนเองต้องเป็นผู้นำการสอนและอธิบายหน้าชั้นเรียนตลอดเวลาซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ล้าสมัยไปแล้วในยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้หรือยุคสมัยใหม่ ครูในยุคสมัยใหม่นี้จะเป็นผู้เรียน ครูจะผู้สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ค้นคว้า ครูจะไม่เป็นผู้ตัดสินว่านักเรียนควรเรียนอะไร ครูจะเรียนรู้จากการสังเกตนักเรียนว่ากำลังทำอะไร ซึ่งนั่นเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมความใคร่รู้ของนักเรียน
วิดีโอนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของครูสมัยใหม่ซึ่งเธอไม่ได้เป็นครูจริงๆ แต่เธอเป็นผู้เรียนที่ใช้การเรียนรู้จากโลกแห่งความจริงมาเป็นตัวอย่างโดยใช้อินเตอร์เน็ต สื่อคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรทัศน์เชื่อมต่อบลูทูธเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่น่าตื่นเต้น ทำให้นักเรียนเรียนร่วมกัน ปรึกษากันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน โดยปราศจากการแทรกแซงของครู โดยที่นักเรียนจะบันทึกงานของตนบนแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ และนำเสนอสิ่งที่เรียนหน้าทั้งชั้นเรียน
ดังที่นักปรัชญาชื่อดังอย่าง Bruno Bettleheim เคยเขียนไว้ว่า ‘ความรักไม่นั้นเพียงพอ นักเรียนสมัยนี้ยุ่งเกินไป ตื่นเต้นเกินไป และอยากรู้อยากเห็นเกินกว่าจะหลับตานอน’ นี่คือการศึกษา นี่คือการปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ของโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล