เสียงของนักเรียน

 
จงฟังเสียงนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษทุกคนบนไทยวอยส์

ไทยวอยส์
 
องค์การสหประชาชาติในปี 2549 ระบุว่า

‘ทุกประเทศจะต้องประกันว่าเด็กพิการมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างอิสระในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา ความคิดเห็นของพวกเขาจะมีน้ำหนักสอดคล้องตามอายุและวุฒิภาวะ บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันกับเด็กคนอื่น ๆ และได้รับความช่วยเหลือด้านทุพพลภาพและเป็นความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับวัยเพื่อให้ตระหนักถึงสิทธินั้น’

ครูควรตระหนักว่าเด็กที่มีความพิการทางร่างกายหรือจิตใจควรมีชีวิตที่สมบูรณ์และเหมาะสม ในสภาพที่ได้รับรองศักดิ์ศรี ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และอำนวยความสะดวกให้เด็กมีส่วนร่วมในชุมชน(มาตรา 23) (สหประชาชาติ, 1989) ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ครูมักจะพูดคุยแนะนำนักเรียนตลอดเวลา ครูไม่ค่อยพยายามฟังและสังเกตการสื่อสารของนักเรียน เราควรอธิบายให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลทราบถึงสิ่งที่เรากำลังทำและเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อของนักเรียนแต่ละคนบนไทยวอยส์ การสื่อสารอาจด้วยทางวาจาหรือทางอวัจนภาษา ครูจำเป็นต้องสนับสนุนและตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน เป้าหมายของเราควรคือการแบ่งปันและฝึกฝนวิธีการเชิงบวกเพื่อสื่อสารและรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพจากนักเรียนไม่ว่าระดับความสามารถหรืออายุจิตจะเป็นอย่างไร เสียงของเด็กๆควรได้รับการบันทึกและช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงอายุหรือความสามารถในการสื่อสารโดยตรง

สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดย
  • การมีส่วนร่วมโดยตรง
  • การสังเกต
  • การสนทนากับพ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว หรือผู้ดูแล
การเริ่มต้นที่ดีคือการรับฟังและสังเกตอย่างเปิดเผยและค้นหาเสียงเรียกร้องของเด็กๆโดยไม่แนะนำหรือตัดสินสิ่งนี้ควรฝังไว้ในการปฏิบัติและในการบันทึก และควรได้รับการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์ของเด็กๆเปลี่ยนไปหรือมีการเปลี่ยนแปลงแผน เราควรบันทึกเสียงของเด็กและเพื่อเด็ก ควรบันทึกเสียงของเด็กไว้ในเอกสารและตัวอย่างในบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังสามารถแนบหรือสแกนลงในบันทึกที่เด็กเขียนมุมมองของตนเองหรือใช้เครื่องมือซึ่งเป็นวิดีโอที่เด็กทำเสร็จแล้ว

ไทยวอยส์ในประเทศไทย
 
ไทยวอยส์ (Thai voices) เป็นชื่อโครงการที่สร้างขึ้นโดยโรงเรียนปัญญานุกูลในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ดังนี้
  1. ครูเรียนรู้ที่จะรับฟังสิ่งที่นักเรียนพูดและตอบสนองความต้องการของนักเรียน
  2. เด็กๆ จะได้รับพลังในการเรียนรู้สิ่งที่ตนสนใจและควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
  3. เนื้อหาของหลักสูตรเป็นหลักสูตรพื้นฐานแห่งชาติของไทย และสอนโดยใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้จากเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บไซต์เฉพาะทางสำหรับครูและนักเรียนในโรงเรียนปัญญานุกูลในการเรียนรู้
  4. ความเชื่อคือนักเรียนฉลาดกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก และนี่เป็นข้อกังวลระดับนานาชาติที่ไม่เพียงแต่จะมีในประเทศไทยเท่านั้น

ข้อความต่อไปนี้อธิบายกระบวนการในสามปีของการเรียนรู้ของครูและนักเรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ข้างต้น

การปฏิรูปโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล 2561 ถึง 2564

  • โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลเป็นศูนย์ดูแลที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้อย่างรุนแรงมาโดยตลอด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม สมองพิการ ออทิสติก และสมองถูกทำลายทั่วไป นักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ถึง 20 ปีมีความสามารถที่หลากหลาย นักเรียน 428 คนได้รับอาหารอย่างดี แต่งกายดี และเป็นที่รักของครูทั้ง 79 คน
  • โรงเรียนมีหลักสูตรที่อ่อนแอและครูไม่มั่นใจในการสอน เมื่อนักเรียนล้มเหลวในการเรียนรู้ ครูจะตำหนิการความพิการของนักเรียน เป็นผลให้นักเรียนใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันทำกิจกรรมน้อยมากยกเว้นการนอนส่วนคุณครูนั้นจะพักผ่อนและพูดคุยกัน อีกอย่างเด็กๆไม่สามารถพูดคุยกันได้ หลายคนจึงไม่ได้เป็นเพื่อนกัน โดดเดี่ยวและเหงาเป็นเรื่องธรรมดา
  • มีปัญหามากมายซึ่งส่วนใหญ่เป็นความคิดของครูที่คิดว่านักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ จนมีนักวิชาการโรงเรียนการศึกษาพิเศษจากฮ่องกงหลงรักหัวหินและเสนอความช่วยเหลือโรงเรียน ครูไม่ได้ตระหนักว่าครูต่างหากที่มีความพิการเนื่องจากไม่เข้าใจนักเรียน นักเรียนทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในระดับความสามารถของตนเองได้และนักเรียนทุกคนมีศักยภาพทางปัญญา เราจึงเริ่มด้วยการพูดถึงความสามารถ ไม่ใช่ความพิการ หรือพูดถึงเด็ก ไม่ใช่ผู้พิการ
  • จากนั้นเราก็เริ่มประเมินนักเรียนตามหลักสูตรใหม่ของไทยซึ่งดัดแปลงมาจากการผสมผสานการประเมินของทางอังกฤษสำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ระดับรุนแรงกับการแบ่งระดับชั้นจากหลักสูตรระดับชาติของไทย ครูได้สร้างมาตราส่วนที่เรียนว่า Sumret (ระดับความสำเร็จ) ซึ่งอนุญาตให้นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินมาตรฐานความสำเร็จในการเรียนรู้ทุกสาระของหลักสูตรทุกวิชา ครูเริ่มชื่นชมที่นักเรียนทุกคนมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างกัน และในแต่ละระดับเหล่านี้นักเรียนสามารถถูกสอนให้เรียนรู้ได้ จนเอกสารที่ทำขึ้นมานี้ประสบความสำเร็จอย่างมากจนได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการของไทย
  • นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของบรรดาครูในโรงเรียน นายวีระ กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้เวลาครูในการเรียนรู้และทำงานเกี่ยวกับการสร้างเอกสารฉบับใหม่นี้ ในขณะเดียวกัน ก็ตระหนักว่าอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนมีความอ่อนแอ และจำเป็นต้องมีการปรับปรุง เมื่ออินเตอร์เน็ตได้รับการปรับปรุงแล้วครูทุกคนเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาทักษะการสอนและการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
  • มีการนำเทคโนโลยี Enhanced Leaning มาใช้ และตำราเรียนถูกมองว่าล้าสมัยในศตวรรษที่ 21
  • ความก้าวหน้าครั้งสำคัญต่อไปคือการเปลี่ยนจากการใช้หนังสือเรียนสู่ Schemes of Work โดยมีตัวอย่างการเรียนรู้ในชีวิตจริงในโลกแห่งความเป็นจริง Schemes of Work คือความเข้าใจของครูเกี่ยวกับแนวคิดของหลักสูตรรายวิชาที่กำลังสอนและไม่ต้องพึ่งพาคำตอบในตำราเรียน ครูได้เขียนบทเรียนที่สร้างสรรค์โดยอาศัยข้อมูลที่ทันสมัยมากมายจากอินเทอร์เน็ต ครูต้องเข้าใจวิชาที่สอนในระดับที่นักเรียนสามารถเรียนได้สำเร็จ เป็นเรื่องยากมากสำหรับครูที่จะตระหนักว่าเด็กชายอายุ 15 ปีกำลังคิดเหมือนเด็ก 5 ขวบหรือเด็กหญิงอายุ 12 ขวบกำลังคิดเหมือนเด็กทารกอายุ 13 เดือน
  • ความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่คือครูไทยถูกสอนให้สอนและพูดตลอดเวลา วิธีการสอนแบบไทยนี้เป็นแบบเก่าไปแล้วในโลกแห่งการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ครูสมัยใหม่คือผู้เรียนและครูสมัยใหม่สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สำรวจ ในห้องเรียนใหม่ ครูไม่รู้ว่านักเรียนต้องการเรียนรู้อะไร ครูจึงเรียนรู้ว่าเด็กๆกำลังทำอะไร และอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน
  • วิดีโอนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของครูสมัยใหม่ซึ่งไม่ใช่ครูจริง ๆ แต่เธอเป็นผู้เรียนโดยใช้ตัวอย่างทั้งหมดของโลกความเป็นจริงกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ต แท็บเล็ตอิเล็กทรอนิกส์ และโทรทัศน์ที่เชื่อมต่อด้วยบลูทูธเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่น่าตื่นเต้น ที่ซึ่งเด็กๆ ร่วมมือกันและพูดคุยกันเกี่ยวกับการเรียนรู้ใหม่ของพวกเขาโดยปราศจากการแทรกแซงของครู เด็กๆบันทึกงานบนแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ และแบ่งปันการเรียนรู้ใหม่นี้กับทั้งชั้นเรียน
  • ดังที่นักปรัชญาชื่อดังอย่าง บรูโน เบทเทิลเฮม เคยเขียนไว้ว่า “ความรักไม่เพียงพอ ตอนนี้นักเรียนมีความยุ่งมาก ตื่นเต้นเกินไป และอยากรู้อยากเห็นเกินกว่าจะหลับ” นี่คือการศึกษา นี่คือการปฏิรูปใหม่ของโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล

Thai Voices